วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ใบความรู้ที่ 6 วงจรการวิเคราะห์ระบบ


วงจรการวิเคราะห์ระบบ

แนวคิด
                 การวิเคราะห์ระบบขององค์กรใด ๆ เพื่อพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาใช้งานนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่นิยมใช้วงจรการวิเคราะห์ระบบงานหรือวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Lift Cycle : SDLC) ในการศึกษาและวิเคราะห์ระบบการทำงานต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งการศึกษาตามขั้นตอนของวงจรการพัฒนาระบบจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบทำงานเป็นลำดับขั้นตอน และหากเกิดข้อผิดพลาดในการวิเคราะห์ก็ง่ายต่อการกลับไปแก้ไข วงจรการพัฒนาระบบสามารถแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอนคือ การกำหนดปัญหา การศึกษาความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การพัฒนาระบบ การติดตั้งระบบ และการบำรุงรักษาระบบ การศึกษาความเป็นไปได้จะต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (Technically Feasibility )  ด้านการปฏิบัติ (Operational Feasibity)  และด้านเศรษฐกิจ (Economic Feasibility)   ทั้งนี้นักวิเคราะห์ระบบอาจใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต การศึกษากับเอกสารการทำงาน รวมถึงการใช้แบบสอบถามการวิเคราะห์ระบบนั้นจะทำให้ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพ






สาระการเรียนรู้

      1.วงจรการพัฒนาระบบ SDLC                            4.หลักการศึกษาระบบงาน
      2.ขั้นตอนการพัฒนาระบบ                                   5.ประโยชน์ของการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
      3.วิธีการพัฒนาระบบ


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

     1.สามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานของวงจรพัฒนาระบบ ได้
     2.สามารถอธิบายขั้นตอนการพัฒนาระบบได้
     3.สามารถอธิบายวิธีการพัฒนาระบบได้
     4.สามารถอธิบายหลักการศึกษาระบบงานได้
     5.สามารถบอกประโยชน์ของการวิเคราะห์และออกแบบระบบได้


             การวิเคราะห์ระบบถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะพัฒนาระบบงานใหม่ขึ้นมาใช้งานทั้งนี้เพื่อให้ระบบที่จะพัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบได้ การพัฒนาระบบจะใช้หลักการพัฒนาตามวงจรการพัฒนาระบบ (System Devlopment Life Cycle : SDLC) โดยแบ่งขั้นตอนการทำงานออกเป็น 7 ขั้นตอนทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน



วงจรการพัฒนาระบบ SDLC


วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) เป็นวงจรที่นักวิเคราะห์ระบบใช้กำหนดลำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ทราบว่าควรดำเนินการสิ่งใดก่อนและดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้ในแต่ละลำดับขั้นตอนของวงจรการพัฒนาระบบ จะทำให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถทราบถึงกระบวนการของระบบที่งานที่วิเคราะห์ เช่น ระบบทำอะไร (What) ทำโดยใคร (Who) ทำเมื่อไร (When) และทำอย่างไร (How) รวมทั้งทราบถึงปัญหาและความต้องการของระบบใหม่ที่กำลังจะพัฒนา เมื่อพัฒนาระบบจะต้องทำอย่างไร จึงจะได้ระบบที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ถ้านักวิเคราะห์ระบบดำเนินการตามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไปแล้วเกิดความผิดพลาดก็สามารถกลับไปแก้ไขในลำดับขั้นตอนที่ผิดพลาดได้ซึ่งสามารถแบ่งวงจรการพัฒนาระบบแบ่งได้ 7 ขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดปัญหา 2. การศึกษาความเป็นไปได้ 3. การวิเคราะห์ระบบ 4. การออกแบบระบบ 5. การสร้างระบบหรือพัฒนาระบบ 6. การติดตั้งระบบ 7. การประเมินและการบำรุงรักษาระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น