คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี
1. มีความเที่ยงตรง ( Accuracy) หมายถึง สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง สมบูรณ์และปลอดภัย ทั้งนี้การที่จะได้มาซึ่งความเที่ยงตรงของสารสนเทศนั้นจะต้องมีความถูกต้องตั้งแต่การป้อนข้อมูลที่ถูกต้องด้วย เช่น การคำนวณเกรดของวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบถ้าครูผู้สอนบันทึกคะแนนเก็บผิดจะส่งผลให้เกรดผิดไปด้วย ดังนั้นสารสนเทศที่ได้จึงไม่มีความเที่ยงตรงเนื่องจากไม่ถูกต้อง เป็นต้น
2. ตรงกับความต้องการ (Relevancy) หมายถึง สารสนเทศที่ได้ จะต้องสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตรงความต้องการ เพราะถ้าสารสนเทศมีจำนวนมากแต่ไม่สามารถนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้ สารสนเทศนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร เช่น ผู้บริหารต้องการรายงานกำไร / ขาดทุน ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อต้องการทราบว่าเดือนมิถุนายน พ.ศ.2550 ได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวอาจใช้ในการบริหารธุรกิจอื่น ๆ ด้วย แต่สารสนเทศที่ได้รับเป็นรายงานสินค้าคงเหลือ รายงานรายจ่าย และรายงานสินค้าที่ขายดี 3 อันดับแรก แต่ผู้บริหารต้องการทราบกำไรขาดทุน ดังนั้นสารสนเทศที่เสนอให้กับผู้บริหารจะมีจำนวนมากเพียงใด ถ้าไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริหารก็ไม่เกิดประโยชน์
3.ทันเวลาต่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (Timeliness) หมายถึง สารสนเทศที่สามารถใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนหนึ่งก็คือการที่ได้รับสารสนเทศทันต่อการใช้งาน เช่น ผู้บริหารต้องการทราบว่าช่วงเทสการสงการณต์ ปี่ 2549 สินค้าใดขายดีที่สุด เพื่อที่จะได้นำมาเป็นสารสนเทศในการตัดสินใจหรือวางกลยุทธ์ทางการตลาดว่า ปี 2550 จะจักซื้อสินค้าใดจำนวนเท่าไหร่มาจำหน่ายแต่ถ้าได้รับสารสนเทศวันที่ 30 เมษายน 2550 สารสนเทศนั้นก็จะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากเกินกำหนดเวลาที่จะใช้งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น